เรื่องของเครื่องหมายวรรคตอนที่จะมาพูดถึงกันในวันนี้ก็คือ เครื่องหมายเซมิโคลอน หรือที่มีหน้าตาแบบนี้ “ ; “ ค่ะ (คล้ายโคลอนแต่เหมือนมีแค่ครึ่งเดียว) ก่อนอื่นเลย เซมิโคลอน เปรียบเสมือนจุดหยุดที่ก้ำกึ่งระหว่างการเป็นคอมมา(,) และจุดฟูลสต็อป (.) คือไอ้เจ้านี่เหมือนคอมมาตรงที่แสดงการหยุดชั่วครู่ ที่อ่านออกเสียงก็จะยาวกว่าคอมมานิดนึง แต่สั้นกว่าจุดฟูลสต็อปที่เป็นการจบประโยคในไปเลย สำหรับหลักการการใช้ของเค้าที่ไม่ได้ยากอะไรหรอกค่ะ แต่แค่มีข้อระวังในการใช้เพราะมักเกิดการสับสนในการใช้กับโคลอน ( : ) หรือคอมมา (,) บ้างเล็กน้อย
วันนี้ DailyEnglish ก็จะแจกแจงกฎเกณฑ์ข้อกำหนดที่ควรรู้ในการใช้เซมิโคลอน ที่ต้องอาศัยการสังเกตนิดนึง ซึ่งทั้งหมดก็มีดังนี้
กฎข้อที่ 1a เซมิโคลอน (;) สามารถแทนที่จุดได้ ถ้าผู้เขียนต้องการลดช่องว่างระหว่างสองประโยคที่เกี่ยวข้องกัน
ตัวอย่างเช่น
Call me tomorrow; you can give me an answer then. (โทรหาฉันพรุ่งนี้ แล้วคุณค่อยบอกคำตอบฉันพรุ่งนี้ด้วยละกัน)
ไอ้ประโยคนี้เกี่ยวข้องกันตรงที่ พูดถึงการโทรหากัน เป็นเหตุการณ์ที่บอกว่าการโทรหาฉันในวันพรุ่งนี้เธอก็จะได้รับคำตอบของฉันด้วย
We have paid our dues; we expect all the privileges listed in the contract. (เราจ่ายค่าธรรมเนียมของเราแล้ว แล้วเราหวังที่จะได้สิทธิพิเศษตามที่ได้เขียนไว้ในสัญญา)
ประโยคเหล่านี้เกี่ยวข้องเมื่อประโยคแรกพูดถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมไปแล้ว ประโยคที่สองก็เกี่ยวข้องกับประโยคแรกที่ว่าก็เพราะว่าฉันจ่ายค่าธรรมเนียมไปแล้วฉันก็คาดหวังกับสิทธิพิเศษ
กฎข้อที่ 1b หลีกเหลี่ยงการใช้เซมิโคลอน (;) เมื่อ dependent clause มาก่อน independent clause
ตัวอย่างเช่น ไม่ควรใช้ Although they tried; they failed.
แต่ควรใช้เป็น Although they tried, they failed. (แม้ว่าเค้าจะพยายาม เค้าก็ล้มเหลว)
กฎข้อที่ 2 ใช้เซมิโคลอน (;) ก่อนคำเหล่านี้ namely, however, therefore, that is, i.e., for example, e.g., for instance เป็นต้น เมื่อตามด้วยประโยคสมบูรณ์ (แต่ก็สามารถแทนด้วยการใช้คอมมาหน้าคำเหล่านี้ได้เช่นกันนะคะ)
ตัวอย่างเช่น Bring any two items; however, sleeping bags and tents are in short supply. (นำอุปกรณ์อันไหนก็ได้มาสองอย่าง อย่างไรก็ตาม ถุงนอนและเต็นท์เป็นสิ่งที่มีไม่พอ)
กฎข้อที่ 3 ใช้เซมิโคลอนเพื่อแจกแจงหน่วยย่อยของคำๆหนึ่ง ในกรณีที่มีคำอื่นๆ เกี่ยวข้องอยู่ในคำนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น ไม่ควรใช้ The conference has people who have come from Moscow, Idaho, Springfield, California, Alamo, Tennessee, and other places as well.
แต่เปลี่ยนเป็น The conference has people who have come from Moscow, Idaho; Springfield, California; Alamo,
ความหมายของประโยคนี้ก็คือ งานประชุมมีคนมากมายจาก Moscow (กรุงมอสโคว์) Idaho; Springfield (จากเมืองสปริงฟีลด์รัฐไอดาโฮ เราใช่ ; เพื่อบอกชี้ให้ชัดว่านอกจากมาจากรัฐไอดาโฮแล้วยังเจาะจงว่ามาจากเมืองสปริงฟีลด์อีก) California; Alamo (จากเมืองละอาโม รัฐแคลิฟอเนียร์) และ Tennessee; and other places as well. (รัฐเทเนสซี และที่อื่นๆ)
*** เซมิโคลอน (;) สุดท้ายใช้แทนที่คอมมา (,) เฉยๆค่ะ
กฎข้อที่ 4 อาจใช้เซมิโคลอน (;) เพื่อเชื่อมระหว่าง independent clause และ independent clause ด้วยกันโดยใช้คำเชื่อม เช่น and, but, or, nor เป็นต้น เมื่อมีคอมมา(,) มากกว่าหนึ่งตัวใน clause แรก
ตัวอย่างเช่น When I finish here, and I will soon, I’ll be glad to help you; and that is a promise I will keep. (เมื่อฉันเสร็จจากที่นี่ ในช่วงเร็วๆนี้ ฉันก็ยินดีที่จะช่วยคุณ และนั่นคือสัญญาที่ฉันให้ไว้)
Independent Clause แรกคือ When I finish here, and I will soon, I’ll be glad to help you ซึ่งประกอบไปด้วย clause ย่อยๆเยอะมาก (จากที่เห็นใช้ , แบ่ง) เมื่อจะขึ้น independent clause ใหม่คือ and that is a promise I will keep เลยใช้เซมิโคลอน (;) เข้ามาแทนคอมมา
กฎข้อที่ 5 อย่าใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หลังเครื่องหมายเซมิโคลอน ถ้าคำนั้นไม่ใช่คำนามชี้เฉพาะ (Proper noun)
ตัวอย่างเช่น ไม่ควรใช้ I am here; You are over there.
แต่ควรใช้ I am here; you are over there. (ฉันอยู่นี่ เธออยู่ที่โน่น)
จะสังเกตว่า you เป็นสรรพนามเฉยๆ ไม่ได้เป็นชื่อคน สัตว์ สิ่งของหรือนามชี้เฉพาะ (proper noun) ใดๆ พอตามหลังเครื่องหมายเซมิโคลอนก็ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นพิมพ์ใหญ่ต่อให้ขึ้นเป็นประโยคใหม่ก็ตาม
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.grammarbook.com/punctuation/semicolons.asp
คอมเมนต์ได้เลย!