ครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่ผมยังเป็นเด็กน้อย ผมแปล Adverb (คำวิเศษณ์) ได้ว่า การเพิ่มเติมของคำกริยา หรือคำที่มาขยาย Verb ถึงแม้จะมีส่วนที่ถูกอยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้ถูกซะทีเดียว ความจริงแล้ว Adverb คือคำที่ไม่ได้ทำหน้าที่ขยายกริยา (Verb) เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) และขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเองได้อีกด้วยครับ
โดยส่วนใหญ่แล้ว Adverb จะเกิดจากการนำ Adjective มาเติม –ly แล้วแปลว่าอย่าง… เช่น
• willing เป็น Adjective แปลว่า ซึ่งเต็มใจ
เมื่อนำมาเติม –ly จะได้เป็น willingly แปลว่าอย่างเต็มใจ
• patient เป็น Adjective แปลว่า อดทน
เมื่อนำมาเติม –ly จะได้เป็น patiently แปลว่าอย่างอดทน (แต่ patient ถ้าเป็น Noun จะแปลว่าคนไข้นะครับ)
เราจะสามารถแบ่ง Adverb ออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
1. Adverb of Manner คือ คำที่ใช้อธิบายลักษณะ ท่าทาง อาการ
• You are beautifully dressed.
คุณแต่งตัวได้อย่างสวยงาม (ขยายว่าแต่งตัวเป็นอย่างไร)
• The story ends happily.
เรื่องราวจบลงอย่างมีความสุข (ขยายว่าเรื่องราวจบลงอย่างไร)
• He speaks slowly.
เขาพูดอย่างช้าๆ (ขยายว่าเขาพูดอย่างไร)
** ส่วนมาก Adverb กลุ่มนี้จะบอกว่า อย่างไร หรือพบได้บ่อยสำหรับการตอบคำถาม How
2. Adverb of Place คือ คำที่ใช้บอกสถานที่ หรือคำที่ให้ความหมายเกี่ยวกับสถานที่
• I’m just looking around.
ฉันแค่มองไปรอบๆ (ขยายว่ามองไปที่ไหน)
• I wish you were here with me now.
ฉันอยากให้คุณอยู่กับฉันที่นี่ตอนนี้จัง (ขยายว่าอยากให้อยู่ที่ไหนในตอนนี้)
• This is the best Thai restaurant anywhere in Tokyo.
นี่คือร้านอาหารไทยที่ดีที่สุดในโตเกียว (ขยายว่าร้านนี้ดีกว่าที่ใดก็ตามในโตเกียว)
3. Adverb of Time คือ คำที่ใช้บอกเวลา หรือมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง
• Wow, we’re finally in Paris.
ว้าว! ในที่สุดพวกเราได้มาอยู่ที่ปารีส (ความหมายประมาณว่าผู้พูดอยากมาปารีสนานแล้ว และสุดท้ายก็ได้มา ซึ่งมีเรื่องของระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง)
• The bill must be paid today.
ใบแจ้งหนี้จะต้องถูกจ่ายในวันนี้ (ขยายว่า the bill จะถูกจ่ายเมื่อไร)
4. Adverb of Frequency คือ คำที่ใช้บอกถึงความถี่ หรือคำที่เมื่อแปลแล้วให้ความรู้สึกถึงความบ่อย บ่อยมาก บ่อยน้อย หรือ ไม่เลย
• I always feel blue on Mondays.
ฉันรู้สึกเศร้าเสมอเมื่อถึงวันจันทร์ (เป็นการบอกว่าวันจันทร์ทีไรเศร้าตลอด ผมว่าสามารถเอาไปใช้ได้นะครับ เพราะน่าจะแทงใจดำใครหลายคน)
• We often hear that ants are social animals.
พวกเรามักจะได้ยินอยู่บ่อยๆว่ามดเป็นสัตว์สังคม (เป็นการขยายว่าเราได้ยินมาบ่อยละนะ)
• It will never happen again.
มันจะไม่มีทางเกิดขึ้นอีก (ประโยคนี้พูดถึงเรื่องความถี่ นั้นคือจะไม่เกิดขึ้นอีก)
5. Adverb of Degree คือ คำที่ใช้บอกปริมาณ หรือ คำที่เป็นการเน้นย้ำ ส่วนมากจะขยาย Adverb หรือ Adjective
• It’s absolutely impossible for me to go on like this.
มันเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนสำหรับฉันที่จะทำต่อไปแบบนี้ (ขยายความเป็นไปไม่ได้ เป็นการบอกปริมาณ ย้ำว่าแน่นอน)
• Do you really wish that?
คุณปรารถนาสิ่งนั้นจริงๆหรือ? (ขยายความปรารถนา เป็นการย้ำว่าจริงไหม)
• It’s quite difficult.
มันค่อนข้างจะยาก (ขยายความยาก เป็นการบอกปริมาณของความยาก)
ทีนี้มาดูสรุปในตารางกันเลยครับ
ประเภท | ตำแหน่ง | ตัวอย่าง |
Adverbs of Manner | หลังกริยา | You should have talked politely. |
หลังกรรม | You have to use the money wisely. | |
Adverbs of Place | หลังกริยา | They are reading in the library. |
หลังกรรม | I drink water here. | |
Adverbs of Time | หลังกริยา | I’m going now. |
หลังกรรม | We run in the morning. | |
Adverbs of Frequency | หน้ากริยา | I sometimes go shopping at the mall. |
ระหว่างกริยาช่วยและแท้ | I have often heard. | |
ระหว่างกริยาช่วยและช่วย | This book has often been read. | |
Adverbs of Degree | หน้า ADJ. | It is an absolutely beautiful. |
หน้า ADV. | It’s quite difficult |
สำหรับเรื่องของ Adverb นี้ ผมขอสรุปสั้นๆว่า อะไรก็ตามที่ทำหน้าที่ในการขยายคำกริยา ขยายคำคุณศัพท์ หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์ และส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วย –ly นั่นเองครับ
“Grammar” อาจจะเป็นเรื่องยาก หรือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับบางคน แต่ความจริงแล้วหากเราตั้งใจและให้เวลากับมัน ค่อยๆศึกษาที่ละเรื่องให้เข้าใจเรื่องใหญ่ก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาเลยแหละครับ ให้เวลา… ตั้งใจ… และไม่ท้อ สักวันเราจะใช้ภาษาได้แบบที่เจ้าของภาษาใช้แน่นอนครับ ฟันธง!!!
คอมเมนต์ได้เลย!